วันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ความสำคัญของไม้ดอกไม้ประดับ

ความสำคัญของไม้ดอก 

          มนุษย์เรานั้นรู้จักนำไม้ดอกมาใช้ประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว จนกลายเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมประจำชาติทุกวันนี้ เช่น งานบวช เยี่ยมคนไข้ ให้คนรัก งานขึ้นบ้านใหม่ จัดประดับบริเวณบ้าน หรือแม้กระทั้งงานศพ และคนในสมัยโบราณยังรู้จักนำไม้ดอกไปใช้เป็นยารักษาโรคต่างๆและอาหารได้อีกด้วย นอกจากนี้คนเรายังต้องการความสุข ความเพลิดเพลินเจริญใจ ความงดงามตามธรรมชาติของพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับนานาชนิอีกด้วย ความสวยงามของไม้ดอกไม้ประดับนั้นหักนำไปใช้ประดับตกแต่งจัดให้ถูกวิธีศิลปะบ้างแล้ว ก็ยิ่งเพิ่มความสวยงามมากขึ้น ให้ความสุขความเพลิดเพลินเจริญใจแก่เจ้าของและผู้ที่ได้พบเห็นทั่วไป

ความสำคัญของไม้ประดับ 

         ความงดงามของธรรมชาติ ต้นไม้ใบหญ้า ความร่มรื่นร่มเย็นจากร่มไม้ สีสันและความหอมอันละเอียดละไมเหล่านี้มิใช่มีอยู่ตามภาพวาด ภาพถ่าย เสียงเพลง แต่มันเกิดขึ้เองตามฑรรมชาติเพียงแต่มนุษย์เรานั้นปรุงเสริมเติมแต่งด้วยจินตนาการขึ้นมาเพิ่มเติม
มนุษย์กับธรรมชาติเป็นสิ่งที่เกื้อกุลซึ่งกันและกันมาตั้งแต่สมัยโบราณชนิดแยกกันไม่ได้ แต่มนุษย์เรานั้นใช้ทรัพยากรเหล่านี้อย่างไม่ระมัดระวัง เป็นผู้ทำลายมิตรภาพจากผู้มีอุปการคุณเสียเอง โดยจะตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจก็ตามที ซึ่งต่างๆเหล่านี้ที่มนุษย์เราได้ทำลงไปก็ส่งผลกระทบต่างๆนามนับประการในปัจจุบัน
สวนไม้ดอก        คือ พันธุ์ที่ตัดดอกเพื่อการขายและจำหน่ายเพียงอย่างเดียว
สวนไม้ประดับ    คือ พันธุ์ที่ใช้ในการประดับสวน สถานที่ในกระถางหรือแปลงก็ได้
การปลูกไม้ดอกไม้ประในเมืองไทยเรา และในจังหวัดอุตรดิตถ์นั้น จะต้องเอาใจใส่ดูแลพันธุ์ไม้ที่ไม่ค่อยทนต่อสภาพอากาศแบบนี้ แต่สำหรับต้นไม้หรือพันธุ์ไม้บางชนิดที่ทนต่อสภาพภูมิอากาศแบบนี้ก็ไม่จำเป็นเท่าไหร่ที่จะต้องการดูแลอย่างเต็มที่ หรือมากนัก
ส่วนการดูแลรักษา นั้น ในระยะแรกๆของพันธุ์ทุกชนิดนั้น จะต้องเอาใจใส่และให้การดูแลเป็นพิเศษหน่อย ( ช่วงเพาะเมล็ดขยายพันธุ์ การปักกิ่ง ต่อกิ่ง เป็นต้น ) หลังจากนั้นเมื่อต้นเจริญเติบโตได้ในระยะหนึ่งก็สามารถลดการดูแลลงได้
การทำไม้ดอกไม้ประดับนั้นจะต้องมีความรู้พื้นฐานอยู่บ้างก็จะเป็นการดีสำหรับพันธุ์ไม้แต่ละชนิด เช่น การพวงดิน การให้ การจัดเก็บ การตัดแต่งกิ่ง การกำจัดศัตรูพืช สิ่งต่างๆเหล่านี้ก็เพื่อให้ต้นไม้หรือพันธุ์ไม้เรานั้น ดูดีสมบูรณ์เมื่อได้รับการดูแลอย่างถูกวิธี เป็นที่ดึงดุดใจของลูกค้าในการเลือกซื้อ เลือกชม และบุคคลที่ผ่านไปมาได้


ข้อแนะนำในการปลูกเลี้ยงไม้ประดับในอาคาร

    


   การเลี้ยงไม้ประดับในอาคารนั้น ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่เรื่องที่ยากเย็นอะไรนักหนา แต่สำหรับผู้ที่เพิ่งจะเริ่มต้นเลี้ยงหรือผู้ที่เลี้ยงมานานแล้ว แต่ยังไม่มีความรู้ความเข้าใจดีพอ อาจประสบปัญหาได้เพราะการปลูกเลี้ยงไม้ประดับในอาคารนั้นใช่ว่าจะมีเพียงแค่การรดน้ำและการให้ปุ๋ยเท่านั้น แต่ยังมีข้อปลีกย่อยต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ที่จะนำท่านไปสู่ความสำเร็จในการปลูกเลี้ยงไม้ประดับในอาคาร

ต่อไปนี้คือข้อแนะนำที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้ปลูกเลี้ยงไม้ประดับในอาคารควรจะทราบ

1. การเลือกซื้อไม้ประดับ
2. ข้อควรคำนึงในการเลือกซื้อไม้ประดับ
3. ข้อปฎิบัติในการนำต้นไม้กลับบ้าน
4. ข้อปฎิบัติเมื่อนำต้นไม้มาถึงบ้าน
5. ข้อควรคำนึงในการตั้งกระถางไม้ประดับ
6. ข้อควรจำในการรดน้ำต้นไม้
7. การดูแล่ต้นไม้ในฤดูร้อน
8. การทำความสะอาด
9. การทำหลักยึดเกาะ
10.การตัดแต่งกิ่ง
11. การรักษาความชุ่มชื้นให้กับต้นไม้
12. อันตรายจากความงาม
13. การสังเกตอาการผิดปกติของไม้ประดับและการแก้ไข

1. การเลือกซื้อไม้ประดับ
ก่อนที่จะซื้อต้นไม้เข้ามาปลูกภายในบ้าน ควรจะต้องมีการวางแผนเอาไว้ล่วงหน้าเสียก่อน ไม่ใช้ไปพบเข้าโดยบังเอิญและเกิดชอบใจก็ซื้อกลับบ้าน คุณจะต้องแน่ใจก่อนว่าสภาพแวดล้อมภายในบ้านเหมาะกับต้นไม้ชนิดที่ต้องการหรือไม่ ถ้าคุณเริ่มต้นที่จะปลูกต้นไม้เป็นครั้งแรก อาจเริ่มต้นโดยการซื้อต้นไม้ที่มีความทนทานต่อทุกสภาพอากาศ เมื่อเลี้ยงให้รอดและเจริญเติบโตได้แล้วก็ค่อยเขยิบขึ้นไปทีละขั้นจนคุณมีความชำนาญ ค่อยหาพันธุ์ไม้ที่เลี้ยงยากมาปลูก

การปลูปต้นไม้ภายในบ้านนั้นคุณต้องไม่ลืมว่าต้นไม้ต้องการแสง น้ำ อากาศ อุณหภูมิ ความชื้นและอาหาร เช่นเดียวกับต้นไม้ที่อยู่นอกบ้าน เพราะฉะนั้นก่อนที่คุณจะซื้อต้นไม้เข้ามาประดับภายในบ้าน คุณต้องรู้ถึงความต้องการของต้นไม้ว่าต้นไม้ชนิดนั้นต้องการปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตมากน้อยบแค่ไหน เพราะต้นไม้แต่ละอย่างย่อมมีความต้องการที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้คุณอาจถามมาจากผู้ขายโดยตรงก็ได้

สิ่งสำคัญอีกอย่างที่คุณต้องคำนึงถึงก็คือถ้าในบ้านของคุณมีเด็กหรือเลี้ยงสุนัข คุณตะต้องมีการเตรียมการป้องกันไว้ล่วงหน้าเสียก่อน เช่นกรณีที่คุณจะตั้งกระถางต้นไม้ไว้ที่พื้น คุณจะต้องหาพืชที่ทนทานต่อการเสียดสีหรือการจับต้องพอสมควร ส่วนต้นไม้ที่บอบบางเสียหายง่าย ควรจัดให้อยู่ในที่สูงหรือบริเวณที่จะไม่ถูกการจับต้องเสียดสีบ่อยนัก อีกข้อหนึ่งที่คุณไม่ควรจะลืมก็คือ คุณมีเวลาเหลือพอที่จะดูแลต้นไม้ที่คุณุซื้อมาปลูกบ้างหรือไม่ถ้าคุณพร้อมแล้วก็ไปเลือกซื้อต้นไม้มาประดับบ้านกันได้เลย

2. ข้อควรคำนึงในการเลือกซื้อไม้ประดับ
1. ควรซื้อจากร้านที่มีชื่อเสียงเชื่อถือได้ หรือซื้อจากสวนที่ผลิตโดยตรง
2. ไม่ควรซื้อต้นไม้ที่ตั้งขายอยู่นอกร้าน
3. ไม่ควรซื้อต้นไม้ที่มีตำหนิหรือร่องรอยของความเสียหายจากโรคและแมลง
4.ตรวจดูกระถางและกันกระถางให้ดีอย่าเลือกต้นไม้ที่ปลูกอยู่ในกระถางที่มีรอยร้าวหรือแตกอย่างเลือกต้นไม้ที่รากโผล่ออกมาจากรูก้นกระถาง
   แล้วเป็ฯอันขาด เพราะทั้งสองอย่าง่นี้จะทำให้เกิดความเสียหายในขณะเคลื่อนย้ายได้
5. ไม่ควรซื้อต้นไม้ที่ดินในกระถางแฉะ เพราะนั้นแสดงว่าน้ำในกระถางไม่สามารถระบายออกไปได้ ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหารากและโคนเน่าได้
6. ในกรณ๊ที่เป็นไม้ดอก ควรเลือกเอาต้นที่ดอกกำลังตู่มเต็มที่ยังไม่บาน
7. จะต้องดูจนแน่ใจว่าต้นไม้ที่ซื้อนั้นไม่มีร่องรอยหรือตำหนิใด ๆ เลย
8. ไม่ควรซื้อต้นไม้ที่ใบเหี่ยว ใบลู่ลง หรือได้รับความเสียหายเป็นอันขาด
9. ไม่ควรซื้อต้นไม้เพราะเห็นว่าราคาถูกเป็นอันขาด
10. ขณะนำต้นไมักลับบ้าน ควรระมัดระวังอย่าให้ต้นไม้ได้รับความกระทบกระเทือนโดยเด็ดขาด

3.ข้อปฎิบัติในการนำต้นไม้กลับบ้าน
การนำต้นไม้ที่ซื้อมาแล้วกลับบ้านมีหลักปฎิบัติดังนี้ 
1. อย่าขนถ่ายต้นไม้ในวันที่มีลมแรง ฝนตกหนักหรืออากาษร้อนมาก ๆ 
2.ถ้านำต้นไม้บรรทุกรถยนต์กลับบ้าน ควรยึดต้นไม้ไว้กับต้วรถให้แน่น อย่าให้ล้มหรือตะแคงได้
3. ต้นไม้ที่มีใบยาว ๆ หรือใบใหญ่มากควรใช้เชือกมัดรวบเข้าด้วยกันเพื่อป้องกันความเสียหายที่เกิดจากลม
4. รถยนต์ที่จะขนถ่ายต้นไม้ควรมีหลังคาเพื่อกันแดด ลมและฝนด้วย
5. ในกรณีที่ใช้รถกระบะที่ไม่มีหลังคาขนต้นไมั ควรใช้ตาข่ายหรืออวนคลุมต้นไม้ไว้เพื่อไม่ให้ลมตีใบไม้เสียหายขณะเดินทาง (ปัจจุบันใช้ซาแรน)
6. ควรขนถ่ายต้นไม้ในตอนเช้าและตอนเย็นที่อากาศไม่ร้อน
7. เมื่อนำต้นไม้มาถึงบ้าน ควรวางไว้ในที่ร่มเย็นสบาย อากาศถ่ายเทได้สะดวก
8. อย่ารดน้ำต้นไม้ทันทีที่นำมาถึง ควรให้ต้นไม้ได้ปรับตัวเอง ให้เข้ากับสภาพอากาศภายในบ้านสักพักหนึ่งก่อน

4. ข้อปฎิบัติเมื่อนำต้นไม้มาถึงบ้าน
1. อย่าให้น้ำทันทีที่ต้นไม้มาถึง ควรนำต้นไม้ไปตั้งไว้ในที่ร่มเย็นสบาย อากาศถ่ายเทได้สะดวก
2. ในระยะแรกควรให้น้ำแต่น้อย อย่าให้มากจนแฉะขัง
3. เมื่อต้นไม้สามารถปรับตัวได้แล้วคือประมาณ 2-3 สัปดาห์ จึงนำไปวางไว้ในตำแหน่งที่ต้อง
4. ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ
5. อย่าพึ่งให้ปุ๋ยใด ๆ แก่ต้นไม้เป็นอันขาด
6. อย่ากระทำการใด ๆ กับต้นไม้ที่ใบและดอกร่วง นั้นคือผลจากการกระทบกระเทือนในขณะที่ขนต้นไม้มาบ้าน
7. เมื่อต้นไม้ตั้งตัวได้ดีแล้ว คือประมาณ 30-50 วัน จึงให้ต้นไม้ได้รับแสงแดดบ้างในช่วงเช้าที่แดดไม่ร้อนจัดจนเกินไป

5. ข้อควรคำนึงในการตั้งกระถางไม้ประดับ

1.ไม่ควรตั้งกระถางไม้ประดับในที่ที่มีลมพัดแรงๆหรือมีไอร้อนหรือไอเย็นพัดผ่านออกมาอยู่ตลอดเวลาเพราะไม้ประดับส่วนมากไม่ชอบลมโกรกหรือ
   มีอุณหภูมิสูง เนื่องจากจะมีการะเหยของน้ำออกมามากจนต้นไม้นั้นเหี่ยวเฉาตายได้
2.ต้องสังเกตหรือพิจารณาถึงแสงแดดหรือแสงสว่างเพราะไม้ประดับนั้นมีความต้องการแสงที่แตกต่างกันบางชนิดที่ต้องการแสงมากก็อาจตั้งไว้ใกล้กับ
   ประตูหน้าต่างหรือในที่ที่แสงสว่างส่องมาได้มากแต่บางชนิดที่ต้องการแสงน้อยก็ไม่ควรวางใกล้กับประตูหรือหน้าต่าง
3.ไม้ประดับที่มีกิ่งก้านเป็นพุ่มและต้องการเนื้อที่มากใม่ควรนำมาตั้งประดับใกล้กับทางเดินหรือทางเข้าออกเพราะจะทำให้กีดขวางต่อการสัญจรไปมา
    และอาจเป็นอันตรายต่อต้นไม้นั้นได้
4. ไม่ควรนำสิ่งใดมาผูกมัดกับไม้ประดับในกระถาง เพื่อตกแต่งประดับประดาสถานที่เป็นอันขาด
5. การใช้ไม้ประดับเพื่อตกแต่งภายในอาคารนั้น จำเป็นต้องมีไม้เพื่อสับเปลี่ยนไม่ควรใช้ไม้ประดับชุดเก่านานเกินไป เพราะจะทำให้โทรมได้
6. กระถางไม้ประดับนั้นควรจะมีจานรองก้นกระถาง เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำไหลออกจากรูกระถาง จนก่อให้เกิดความสกปรกเลอะเทอะ
7.ไม้ประดับที่ใช้ในอาคารนั้นควรมีความสูงไม่เกิน 6 ฟุต เพราะจะทำให้รก นอกจากจะเป็นอาคารที่มีหลังคาสูง
8.ควรระวังอย่าให้ไม้ประดับในกระถางรกเป็นอันขาดเพราะอาจเป็นที่ซุกซ่อนของสัตว์ร้ายเช่นงูหรือเป็นที่อยู่ของยุงและไม่ควรใช้ยาปราบศัตรูพืช
   กับไม้ประดับับในอาคาร
9. อย่าลืมว่าไม้ประดับที่อยู่ในกระถางนั้น ก็เหมือนกับสัตว์เลี้ยงที่อยู่ในกรง นอกจากจะให้น้ำแล้ว ยังจะต้องไม่ลืมให้อาหารคือปุ๋ยอีกด้วย
10 การรดน้ำไม้ประดับที่อยู่ในอาคาร ควรรดแต่เฉพาะที่โคนต้น

6. ข้อควรจำในการรดน้ำต้นไม้
1. ควรรดน้ำต้นไม้ในตอนเช้าหรือตอนเย็นที่อากาศไม่ร้อน
2. น้ำที่ใช้รดไม่ควรใช้น้ำร้อนหรือน้ำเย็นรด
3. ต้นไม้ที่มีใบขนาดใหญ่ควรรดน้ำให้มาก เพราะพืชที่มีใบใหญ่จะมีการคราบน้ำมาก เพราะฉนั้นจึงต้องการปริมาณน้ำมากเพื่อทดแทนน้ำที่เสียไป
4.ต้นไม้ขนาดเล็กที่ปลูกอยู่ในกระถางใบใหญ่อย่ารดน้ำให้มากตามขนาดของกระถางเพราะต้นไม้ไม่สามารถที่จะรับได้หมดและถ้าหากระบายไม่ทัน
   อาจทำให้เกิดอาการรากเน่าได้ 
5. อย่ารดน้ำลงบนบริเวณดอกหรือใบในขณะที่แสงแดดร้อนจัด
6. ในฤดูหนาวไม่จำเป็นต้องรดน้ำมาก รดแค่เดือนละสองครั้งก็พอ
7. การรดน้ำแต่ละครั้งควรรดให้ชุ่มโชก แต่อย่ารดนานเกินไป
8.ต้นไม้บางชนิดมีใบบอบางเกินกว่าที่จะทนการรดน้ำที่แรงๆได้ควรยกกระถางไปแช่น้ำโดยให้ระดับน้ำเสมอกับระดับผิวดินแช่ไว้จนแน่ใจว่าน้ำชึม
   เข้าดีแล้วจึงยกกระถางขึ้นจากน้ำ
9. อย่ารดน้ำให้ขังอยู่บริเวณส่วนยอดของต้นไม้ นอกจากต้นไม้จำพวกสับประรดสี ที่มึวามสามารถเก็บน้ำไว้ทรงบริเวณยอดได้

7. การดูแลต้นไม้ในฤดูร้อน
ในฤดูร้อนนั้นอากาศมีอุณหภูมิสูงมาก และพืชก็จะมีการคายน้ำสูงขึ้น ถึงแม้ว่าผู้ปลูกจะให้น้ำมากเพียงใดก็ตาม รากของพืชก็ไม่สามารถทำจะดูดน้ำได้ทันกับอัตราการคายน้ำของพืชในหน้าร้อนที่มีอุณหภูมิสูงมาก ๆ เราจะสังเกตเห็นใบของไม้ประดับที่เคยสวยงามของเราหมองและไม่สดชื่นมีชีวิตชีว่าเอาเสียเลย แต่เหตุการณ์แบบนี้เราสามารถแก้ไขได้โดยการเพิ่มความชื้นในอากาศ ซึ่งมีวิธีการดังต่อไปนี้คือ

1. หมั่นฉีดพ่นน้ำให้กับต้นไม้อย่างสม่ำเสมอเป็นการเพิ่มความชื้นในอากาศ เพื่อให้ต้นไม้คงความสดชื่นไว้ได้
2. นำถาดใส่น้ำมาวางไว้ใกล้ ๆ กับต้นไม้หรือวางไว้ใต้กระถางโดยมีก้อนหินหรือภาชนะคว่ำรองก้นกระถางไว้ไม่ให้น้ำท่วมถึงก้นกระถาง
    เพื่อให้น้ำระเหยเป็นไอขึ้นมาลอยอยู่รอบ ๆ ต้นไม้
3.นำพืชหลายชนิดมาวางรวมกันอยู่ในภาชนะที่มีขนาดใหญ่เป็นกลุ่มๆเพื่อให้ไอน้ำที่เกิดจากการคายน้ำและไอน้ำจากดินในกระถางของพืชแต่ละต้น
    ช่วยรักษาความชุ่มชื้นของกันและกันไว้ ในการเลือกเอาต้นไม้มารวมกันนี้ต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ที่พืชต้องการนั้น จะต้องใกล้เคียงกันมากที่สุด
4.ในช่วงที่อากาศร้อนจัดของฤดูร้อนอาจช่วยให้ต้นไม้รอดตายได้ด้วยการยกกระถางต้นไม้มาฝังดินไว้ใต้ร่มเงาของต้นไม้ใหญ่รอจนกระทั่งฤดูร้อน
    ผ่าน ไปจึงค่อยยกกระถางกลับเข้ามาไว้ในบ้านเดิม

วิธีการฝังกระถางนั้นจะไม่ฝังจนกระทั่งจมหมด แต่จะเหลือส่วนที่เป็นคอของกระถางไว้ให้อยู่เหนือดิน

8. การทำความสะอาด
เมื่อวางกระถางต้นไม้ไว้กับที่เป็นเวลานาน ๆ จะมีฝุ่นละอองต่างๆ มาจับที่บนใบและลำต้นของต้นไม้ ฝุ่นละอองเหล่านี้นอกจากจะบดบังทำให้ต้นไม้ได้รับแสงน้อยลงแล้ว ยังอุดตันรูหายใจของต้นไม้อีกด้วย การหมั่นทำความสะอาดใบต้นไม้อยู่เสมอจึงเป็นสิ่งที่ควรปฎิบัติ เพราะนอกจากจะทำให้ต้นไม้ดูสวยงามขึ้น แล้วยังเป็นการกำจัดไข่ของแมลงและไรที่อยู่ตามใบอีกด้วย ต้นไม้ที่มีใบอ่อนนุ่มอาจทำความสะอาดได้โดยการใช้ฟองน้ำที่นุ่มและซุ่มชื้นเช็ดให้ทั่ว สำหรับต้นไม้ที่มีใบเป็นขนเหมือนกำมะหยี่ก็ทำความสะอาดได้โดยการใช้แปรงที่แห้ง มีขนนุ่มละเอียด ปัดบนใบเพื่อความสะอาด

การใช้น้ำมันทาบนใบไม้เพื่อให้ดูเงางามและสวยขึ้นนั้น เป็นการปฎิบัติที่ผิดเพราะจะทำให้ฝุ่นละอองจับใบไม้ได้ดีขึ้น และอาจเกิดอันตรายต่อต้นไม้ได้

9 การทำหลักให้พืชยึดเกาะ
ในขณะต้นไม้ยังมีอายุน้อย ลำต้นจะมีความอ่อนต้ว และมีความยืดหยุ่นสูง ดังนั้นจึงควรจะทำหลักเพื่อให้ต้นไม้ได้เกาะยึด ซึ่งจะทำให้ต้นไม้ดูสวยงามขึ้นด้วย การเลือกแบบของหลักให้ต้นไม้ยึดเกาะจึงควรจะคำนึงถึงลักษณะของต้นไม้แต่ละชนิด และควรมีการจัดลำต้นของต้นไม้ให้อยู่ในตำแหน่งที่ดูสวยงาม การทำหลักยึดเกาะให้ต้นไม้เวลาที่เปลี่ยนกระถางจะทำได้สะดวกเพราะสามารถหลีกเลี่ยงไม่ให้ปักหลังลงไปถูกราวของต้นไม้ขาดได้

10.การตัดแต่งกิ่ง
การปลูกไม้ในร่มบางชนิดด้องมีการตัดแต่งกิ่งในระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้พืชชนิดนั้น ๆ มีขนาดกระทัดรัดสวยงามเหมาะสมที่จะปลูกไว้ภายในอาคารหรือมีรูปทรงที่โปร่งตาขึ้น กิ่งก้านมีระเบียบแบบแผนไม่ไขว้ทับกันจนเป็นเหตุให้ถูกรบกวนจากโรคและสํตรูได้ง่าย การตัดแต่งกิ่งในจุดที่เหมาะสมจะช่วยให้ใบของพืชมีโอกาสได้รับแสงสว่าง เพื่อนำไปใช้ในการปรุงอาหารได้มากขึ้น นอกจากนี้การตัดแต่งพืชบางชนิดเช่น เบญจมาศ จะเป็นผลให้ได้ดอกไม้ที่มีคุณภาพดี การตัดแต่งกิ่งแบ่งออกเป็นวิธีใหญ่ ๆ ได้ 2 วิธี คือ
1. การเด็ดหรือขลิบ เป็นการตัดแต่งกิ่งขั้นต้นโดยการใช้มือหรือใช้กรรไกรขลิบยอดอ่อน การขลิบยอดอ่อนเช่น นี้จะช่วยควบคุมการเจริญเติบโตได้ เช่น เมื่อเด็ดยอดอ่อนด้านข้างก็จะเป็นการช่วยเร่งความเจริญเติบโตทางด้านยาวของกิ่ง
2. การตัดซอย เป็นการเลือกตัดกิ่งที่เจริญขึ้นในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม ออกจากลำต้นใหญ่ทั้งกิ่งเพื่อให้ทรงพุ่มดูโปร่งตาขึ้น

11 การรักษาความชุ่มชื้นให้ต้นไม้
ในบางครั้งเมื่อมีความจำเป็นต้องเดินทางไกลไปต่างจังหวัดหรือตากอากาศ 2-3 วัน และไม่มีคนทำหน้าที่ดูแลต้นไม้แทน อาจสร้างความกังวลใจเพราะกลัวว่าเมื่อกลับมาบ้านจะพบกว่าต้นไม้เหล่านั้นจะเหี่ยวเฉาไปเสียหมด ความกังวลใจเหล่านี้จะหมดไปได้ถ้าหากเลือกปฎิบัติตามวิธีใด วิธีหนึ่ง
 ดังต่อไปนี้
1. หุ้มต้นไม้ที่มีขนาดเล็กด้วยถุงโพลีธีน หรือถงพลาสติกธรรมดาก็ได้ ไอน้ำจากการหายใจของพืชจะกลับไปสร้างความชุ่มชื้นให้กับดิน ทำให้พืชสามารถรักษาความสดชื่นไว้ได้
2. สอดไส้ตะเกียงผ่านรูระบายน้ำของกระถางเข้าไปในดินที่ใช้ปลูกต้นไม้ และแช่ปลายอีกข้างหนึ่งของไส้ตะเกียงลงในถาดที่มีน้ำบรรจุอยู่
3. วางกระถางต้นไม้ไว้บนผ้าหรือฟองน้ำที่มีรูพรุนเล็ก ๆ สามารถดูดซับน้ำได้ดีและเปิดก๊อกน้ำให้น้ำหยดลงบนผ้าหรือฟองน้ำอย่างช้างๆ ใส้ตะเกียงภาชนะที่ใช้รองกระถางบรรจุน้ำ

12. อันตรายจากความงาม
เนื่องจากการที่ไม้ในร่มเป็นไม้ที่ปลูกอยู่ในอาคาร ซึ่งอาจจะเป็นสำนักงานหรือบ้านเรือนที่อยู่อาศัยก็ได้ ต้นไม้ที่ปลูกอยู่ในสำนักงานดูจะไม่ค่อยมีพิษภัยต่อคนเท่าไร ส่วนต้นไม้ที่อยู่ในบ้านเรือนบางครั้งก็อาจเกิดเป็นพิษภัยต่อผู้อยู่อาศัยได้ โดยเฉพาะบ้านเรือนที่มีเด็ก ๆ อยู่ด้วย

13. การสังเกตอาการผิดปรกติของไม้ประดับและการแก้ไข
กรณีที่ต้นไม้มีอาการเฉา เหลือง ไม่เจริญเติบโต ผู้ปลูกเลี้ยงส่วนใหญ่จะสรุปว่าขาดปุ๋ย จึงทำให้เกิดอาการเช่นนี้ อันที่จริงแล้วสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเหล่านี้มีอยู่หลายประการและพอที่จะใช้พิจารณาป้องกันแก้ไขได้ดังนี้คือ

1. ขอบใบหงิกงอลงด้านล่าง ต่อมาก็จะแห้งและหลุดไป

         สาเหตุ                                        เพราะว่าอากาศภายในห้องหรือตัวอาคารร้อนเกินไป

         การแก้ไข                                   เปิดประตูหน้าต่างให้อากาศถ่ายเทหรือถ้าไม่มีลม อาจใช้พัดลมช่วยเป่าก็ได้

2. ต้นไม้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่กิ่งก้านไม่แข็งแรง เปราะหักได้ง่าย

         สาเหตุ                                        เพราะว่าต้นไม้ได้รับปุ๋ยมากเกินไป

         การแก้ไข                                   ควรลดปริมาณปุ๋ยที่ใส่ลง โดยเฉพาะปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนสูง

3. ต้นไม้เอียงไปทางด้านใดด้านหนึ่ง

         สาเหตุ                                        เพราะต้นไม้ได้รับแสงเพียงด้านเดียว

         การแก้ไข                                   ควรทำการหมุนกระถางต้นไม้บ่อย ๆ เพื่อให้ต้นไม้ได้รับแสงอย่างทั่วถึงกันทุกด้าน

4. ขอบใบเริ่มเหลืองและค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล พร้อมกับก้านก่อนที่กิ่งจะแห้งตายไป

         สาเหตุ                                        ต้นไม้ขาดน้ำ เพราะรดน้ำน้อยเกินไป 

         การแก้ไข                                   ควรให้น้ำอย่างเพียงพอ และสม่ำเสมอ

5. ขอบใบเริ่มเป็นสีน้ำตาล โคนใบเริ่มเป็นสีเหลืองแล้วหลุดร่วงไป ต่อมาก้านก็จะเริ่มโกรํน

         สาเหตุ                                        เพราะได้รับน้ำมากเกินไป และน้ำขังไม่ไหลผ่านเป็นเวลานาน 

         การแก้ไข                                   งดการให้น้ำสักระยะหนึ่งก่อน ถ้าน้ำยังไม่ซึมหมดไปให้ลองใช้ไม้แยงเข้าไปที่รูก้นกระถาง 
                                                           เพราะบางที่ก้นกระถางอาจจุอุดตัน แต่ถ้ายังไม่หายให้เปลี่ยนดินใหม่                                                            เพราะดินในกระถางอาจมีดินเหนียวปนอยู่มากเกินไป น้ำไม่สามารถจะระบายออกไปได้ 

6. .ใบมีสีซีดไม่สดใส และมีจุดสีเหลืองหรือสีน้ำตาลปรากฎขึ้นบนใบ

         สาเหตุ                                        เพราะต้นไม้ได้รับแสงสว่างมากเกินไป

         การแก้ไข                                   ลดการให้แสงลง หรืออาจย้ายไปวางไว้ตรงบริเวณที่แสงสว่างส่องเข้าไปถึงน้อยลง เพียงพอแก่
                                                            ความ ต้องการของต้นไม้

7. กิ่ง ก้าน ที่เกิดใหม่มีลักษณะกุดสั้นและใบมีสีซีดผิดปกติ

         สาเหตุ                                        เพราะว่าต้นไม้ได้รับแสงสว่างน้อยเกินไป

         การแก้ไข                                   ควรเพิ่มแสงสว่างให้กับต้นไม้ โดยการยกไปตั้งในที่ ๆ จะได้รับแสงเพียงพอหรืออาจเปิดไฟฟ้าให้ก็ได้

8. ใบเริ่มเหลือง แต่กิ่งก้าน ยังเขียวอยู่ ใบช่วงล่างเริ่มร่วง ยอดและใบที่เกิดใหม่จะหงิกงอแคระแกรน

         สาเหตุ                                        เพราะว่าต้นไม้ขาดปุ๋ย

         การแก้ไข                                   ใส่ปุ๋ยให้กับต้นไม้ แต่ข้อระวังคือต้องใส่ให้พอดีกับความต้องการของพืชอย่าใส่ให้มากเกินไป 
                                                           เพราะจะทำให้เกิดอันตรายต่อต้นไม้ได้ (ถ้าให้ปุ๋ยเคมีโดยวิธีละลายน้ำรด ต้องระวังอย่าให้ตกค้างอยู่ที่ใบ 
                                                           เพราะจะทำให้ใบไหม้ทางที่ดีเมื่อรดเสร็จแล้วควรใช้น้ำเปล่ารดที่ใบและลำต้นอีกทีหนึ่งเพื่อชะล้างปุ๋ยที่ตกค้าง)

ข้อแนะนำในการปลูกเลี้ยงไม้ประดับภายนอกอาคาร

    



    ส่วนที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ จัดได้ว่าเป็นส่วนที่มีประโยชน์มากสำหรับผู้ปลูกเลี้ยงไม้ประดับที่ยังไม่มีความชำนาญ ซึ่งคำแนะนำที่นำมาลงนี้ผู้เขียนได้คัดเลือกแล้วและเห็นว่าคำแนะนำสี่ข้อต่อไปนี้ จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อ่านมากที่สุด คำแนะนำที่เป็นประโยชน์สำหรับการปลูกเลี้ยงไม้ประดับภายนอกอาคาร ที่สำคัญมีดังนี้ คือ
   1. การเลือกซื้อไม้ประดับ
   2. คำแนะนำเมื่อนำต้นไม้กลับบ้าน
  3. คำแนะนำเมื่อนำต้นไม้มาถึงบ้าน
  4. คำแนะนำในการปลูกไม้ประดับภายนอกอาคาร

การเลือกซื้อไม้ประดับ
ในกรเลือกซื้อต้นไม้มาปลูกนั้น ผู้ที่ไม่เลือกซื้อจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ในเรื่องของพันธุ์ไม้นั้น ๆ พอสมควรและในการไปเลือกซื้อ ผู้ซื้อจะต้องใช้ความละเอียดถี่ถ้วนในการพิจารณาเลือกซื้อเพื่อที่จะได้ไม่ต้องมาเสียใจภายหลัง

หลักในการพิจารณาเลือกซื้อไม้ประดับมีดังนี้  คือ
  1. ควรซื้อจากร้านที่มีชื่อเสียงเชื่อถือได้หรืออาจจะซื้อจากสวนที่เกษตรกรผลิตโดยตรง
  2. ไม่ควรซื้อต้นไม้เพราะเห็นว่าราคาถูกโดยไม่ตรวจดูให้ละเอียดถี่ถ้วนเสียก่อน
  3. ก่อนซื้อต้นไม้ควรถามผู้ขายและขอคำแนะนำจนเป็นที่แน่ใจเสียก่อน
  4. การซื้อต้นไม้ขนาดใหญ่ ใบของต้นไม้นั้นจะต้องไม่เหี่ยวลู่หรือร่วงหล่นจนหมด
  5. กรณีที่จะซื้อไม้ดอก ควรเลือกเอาต้นที่ดอกกำลังตูมไม่บาน
     หลักในการเลือซื้อไม้ประดับนี้ อาจจะแตกต่างกันออกไปตามชนิดของพันธุ์ไม้และขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่จะนำไปปลูกด้วย

คำแนะนำในการนำต้นไม้กลับบ้าน
หลังจากที่ท่านเลือกซื้อต้นไม้ที่ต้องการได้แล้ว อันดับต่อมาก้คือการนำเอาต้นไม้ที่ซื้อแล้วกลับบ้าน การนำต้นไม้กลับบ้านนั้น ถ้าเป้นต้นเล็ก ๆ ต้นหรือสองต้นก็อาจถืกลับบ้านเองได้ แต่ในกรณีที่ซื้อต้นไม้ขนาดใหญ่หรือซื้อทีละหลาย ๆ ต้น การขนส่งต้องใช้รถยนต์ขน ดังนั้นการที่จะป้องกันไม่ให้ต้นไม้ได้รับอันตรายหรือได้รับอันตรายน้อยที่สุด มีวิธีการปฎิบัติดังนี้คือ
   1. ไม่ควรขนถ่ายต้นไม้ในวันที่มีลมแรงมีพายุฝนหรืออากาศร้อนมาก ๆ
   2. ถ้านำต้นไม้บรรทุกรถยนต์กลับบ้าน ควรมีการยึดเกาะต้นไม้ไว้กับตัวรถให้แน่นอย่าให้ล้มหรือตะแคงได้
   3. ต้นไม้ที่มีใบยาวหรือใบแผ่กว้าง ควรทำการรวบและใช้เชือกมัดรวบเข้าด้วยกันหรืออาจจะใช้กระสอบคลุมทับอีกทีหนึ่งก็ได้
       เพื่อป้องกันแดดและลม
   4. รถยนต์ที่จะใช้ในการขนถ่ายต้นไม้ควรเป็นรถที่มีหลังคาเพื่อป้องกันแดด ลมและฝนได้ด้วย
   5. กรณีที่ใช้รถกระบะที่ไม่มีหลังคาขนต้นไม้ ควรใช้ตาข่ายหรออวนคลุมต้นไม้ไว้ เพื่อไม่ให้ลมตีใบไม้เสียหายขณะเดินทาง
       (ปัจจุบันนิยมใช้ซาแรน เพราะมีน้ำหนังเบาและกรองแสงได้ดีกว่า)
   6. ควรทำการขนถ่ายต้นไม้ในตอนเช้าหรือตอนเย็นที่อากาศไม่ร้อน

คำแนะนำเมื่อนำต้นไม้มาถึงบ้าน
เมื่อนำต้นไม้กลับมาถึงบ้านแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือ การพักต้นไม้เหตุที่ต้องมีการพักต้นไม้ก็เพราะว่าในกรเดินทางนั้น ต้นไม้อาจได้รับความกระทบกระเทือน โดยลำต้นอาจจะมีการโยกคลอนหรือใบอาจเฉาอันเนื่องมาจากการคายน้ำระหว่างการเดินทาง ดังนั้นเมื่อนำต้นไม้มาถึงบ้านแล้ว ควรปฎิบัติดังนี้คือ

  1. นำต้นไม้ไปตั้งว้ในร่ม เย็นสบาย อากาศถ่ายเทได้สะดวกและไม่มีลงโกรก
  2. อย่าให้น้ำแกต้นไม้ทันที ที่นำมาถึง
  3. เมื่อให้น้ำควรให้ทีละน้อย ๆ แต่ให้บ่อยครั้ง รอจนต้นไม้ตั้งตัวได้ประมาณ 2 - 3 สัปดาห์ จึงให้น้ำอย่างเต็มที่แต่อย่าให้น้ำจนกระทั่งขังแฉะ
      ในระยะนี้ควรนำต้นไม้มาให้ได้รับแสงแดดทุกวัน โดยเพิ่มระยะเวลากรรับแสงแดดขึ้นเรื่อย ๆ จนสามารถตั้งไว้กลางแจ้งได้ทั้งวัน
  4. ในกรณีที่ซื้อมามาก ๆ อาจนำไปตั้งไว้ใต้ต้นไม้ที่มีร่มเงาและมีแสงแดดรำไรก็ได้
  5. เมื่อต้นไม้ตั้งตัวได้ดีแล้ว จึงนำไปปลูกเป็นไม้ประดับตามที่ต้องการต่อไป

คำแนะนำในการปลูกไม้ประดับภายนอกอาคาร

ก่อนที่ท่านจะนำเอาไม้ประดับมาปลูกในบริเวณบ้านของท่านนั้น ท่านจะต้องทราบเสียก่อนว่าพันธุ์ไม้ที่นำมานั้นเคยอยู่ในสภาพแวดล้อมเช่นใดมาก่อนมีความต้องการปัจจัยสำคัญต่างๆ ที่จะใช้ในการดำรงชีวิตและเจริญเติบโตมาก้อยแค่ไหน เมื่อท่านทราบถึงความต้องการและปัจจัยต่าง ๆ ที่มีความจำเป็นต่อไม้ประดับของท่านแล้ว ขั้นต่อไปก็จะเป็นการปลูกไม้ประดับ ซึ่งมีวิธีการปฎิบัติดังต่อไปนี้คือ

  1. เลือกดินที่มีความเหมาะสมกับความต้องการพันธุ์ไม้ประดับที่จะปลูก
  2. การขุดหลุมปลูกนั้นให้พิจารณาถึงขนาดของพืช โดยพิจารณากลุ่มราก ขนาดของทรงพุ่ม ประกอบด้วย
  3. ขุดดินขึ้นมาแล้วให้แยกดินส่วนบนหรือหน้าดินและดินส่วนล่างไว้ต่างหากกันคนละกอง โรยปูนขาวให้ทั่วทั้งหลุมและดินที่กองไว้
      แล้วตากแดดเอาไว้ก่อนประมาณ 2 สัปดาห์
  4. รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมักหรือจะใช้ใบไม้แห้งผสมกับปุ๋ยคอกเก่า ๆ แทนก็ได้
  5. นำดินส่วนบนลงไปแล้วคลุกให้เข้ากันกับปุ๋ย
  6. นำพันธุ์ไม้ที่ต้องการจะปลูกวางลงไป จัดให้ตรงอย่าให้เอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง แล้วหาไม้มาปักลงไปในหลุ่มเพื่อยึดต้นไม้ไว้
  7. นำปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกเก่า ๆ มาผสมคลุกเคล้ากับดินอีกกองที่เหลือซึ่งเป็นดินล่าง ใส่ลงไปในหลุมแล้วกดให้แน่นแล้วรดน้ำให้ชุ่ม
  8. ถ้าหากปลูกในหน้าแล้งควรทำคันดินเพื่อให้เก็น้ำที่คนต้นด้วยแต่ถ้าหากเป็นหน้าฝนควรพูนดินที่โคนต้นให้สูขึ้น เพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง
  9. กรณีที่ปลูกไม้ประดับที่มีขนาดใหญ่แล้ว เช่น ปาล์ม ควรตัดใบออกบ้าง
 10. พันธุ์ไม้ที่เพิ่งจะย้ายออกมาจากเรือนเพาะชำ ควรจะทำร่มเงาให้บ้าง
       เมื่อปลูกเสร็จแล้วผู้ปลูกควรจะต้องให้ความดูแลเอาใจใส่บ้างในระยะแรกจนกว่าไม้ประดับที่ปลูกจะตั้งตัวได้

ปลูกบานชื่น ให้ชื่นบาน

บานชื่น เป็นไม้ดอกไม้ประดับชนิดล้มลุกชนิดหนึ่งที่มีดอกสวยงามลึกซึ้งค่ะ ผู้ที่ได้พบเห็นดอกแล้วมักหลงใหลในเสน่ห์ของสีสันที่มีมากมายหลากสี เช่น สีเหลืองเข้ม สีบานเย็น สีแสด และสีขาว เป็นต้น 

 


บานชื่น

ชื่อวิทยาศาสตร์ Zinnia elegans  
ชื่อวงศ์ COMPOSITAE 
ชื่อสามัญ Zinnia 
ชื่ออื่นๆ บานชื่น , Poorhouse flower, Everybody flower 
ถิ่นกำเนิด ประเทศเม็กซิโก 



ประวัติและข้อมูลทั่วไปของ บานชื่น 

บานชื่นนิยมปลูกเป็นไม้ประดับบ้านเรือนและปลูกเป็นกระถาง เนื่องจากบานชื่นเป็นไม้ดอกที่ปลูกง่ายเลี้ยงง่าย ไม่ต้องพิถีพิถันในการดูและรักษา มากมายแต่ให้ดอกที่สวยงาม สีสันสดชื่น เป็นการสร้างสภาพแวดล้อมโดยไม่ต้องลงทุนมากมาย

 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ 

บานชื่นเป็นไม้ดอกฤดูเดียว ลำต้นสูงประมาณ 2 ฟุต ลักษณะลำต้นมีขน ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ใบติดกับลำต้น ดอกมีหลายสี เช่น แดง ชมพู ขาว ส้ม เหลือง ม่วงและแสด แล้วแต่ชนิดของพันธุ์ แต่ไม่มีกลิ่น


การขยายพันธุ์ต้นบานชื่น 

ทำได้โดยการ เพาะเมล็ด, ปักชำยอด


ที่มา http://www.the-than.com/FLower/A1/4.html

ต้นไม้กับความเชื่อ

ต้นไม้กับความเชื่อของคนไทย
    คนไทยมีวิถีชีวิตผูกติดกับความเชื่อ คติโบราณมาเนิ่นนานไม่ว่าจะทำการใด จักต้องมีฤกษ์ยามเพื่อให้เป็นช่วงแห่งมงคลทุกครั้งไป ความเชื่อเรื่องโชคลาง เคล็ด ความเป็นมงคลและอัปมงคลนี้รวมไปถึงต้นไม้ ไม่ว่าจะเป็นต้นไม้ ที่ควรปลูกและไม่ควรปลูกในบ้าน การปลูกต้นไม้ตามทิศการปลูกต้นไม้ตามวัดเกิดและตามปีเกิด ซึ่งมีความเชื่อว่า จะส่งผลให้ผู้ปลูกเจริญรุ่งเรือง และประสบความสำเร็จในชีวิต

ความเชื่อเรื่องไม้มลคลตามปีเกิด

คนโบราณมีความเชื่อว่า แต่ละปีมีต้นไม้ที่ปลูกแล้วจะเป็นมงคล ดังนี้
ปีชวด    - ต้นมะพร้าว และต้นกล้วย
ปีขาล    - ขนุนหรือต้นรัง
ปีมะโรง    - ต้นงิ้วและกอไผ่
ปีมะเมีย    - ต้นกล้วย
ปีวอก    - ขนุน
ปีจอ    - สำโรงและบัวหลวง
ปีฉลู    - ต้นตาล
ปีเถาะ    - มะพร้าว และต้นงิ้ว
ปีมะเส็ง    - กอไผ่ และต้นรัง
ปีมะแม    - ปาริชาต และไผ่ป่า
ปีระกา    - ยาง และฝ้ายเทศ
ปีกุน    - บัวหลวง

ไม้มงคล 9 ชนิด

ไม้มงคลที่ใช้ในพิธีวางศิลาฤกษ์ ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน ก่อนทำการก่อสร้างนิยมทำพิธีวางศิลาฤกษ์โดยใช้ไม้มงคล 9 ชนิด ปักกับพื้นดิน ไม้ทั้ง 9 ชนิดมีชื่อเป็นมงคลนาม ดังนี้
1.    ชัยพฤกษ์ ทำให้มีโชค มีชัย มีอำนาจวาสนาสูงส่ง
2.    ราชพฤกษ์ หมายถึง ความเป็นใหญ่ มีคนยกย่องนับถือ
3.    ทองหลาง หมายถึง มีเงินทอง ข้าวของอุดมสมบูรณ์
4.    ไผ่สีสุก หมายถึง การมีความสุขความเจริญ
5.    กันเกรา หมายถึง เครื่องป้องกันอันตราย
6.    ไม้ทรงบาดาล หมายถึง ความมั่นคง หรือทำให้บ้านมีความมั่นคงแข็งแรง
7.    ไม้สัก หมายถึง ความมีศักดิ์ศรี ความมีเกียรติ
8.    ไม้พะยูง ช่วยพยุงฐานะให้มั่นคง
9.    ไม้ขนุน ช่วยหนุนบารมี เงินทอง มีแต่คนคอยช่วยเหลือเกื้อกูล
การปลูกต้นไม้ตามทิศเพื่อสิริมงคล
ตามประเพณีโบราณเมื่อปลูกบ้านใหม่ นิยมเอาไม้ที่มงคลปลูกไว้ในบริเวณบ้าน ดังนี้
-    ทิศบูรพา (ตะวันออก) ปลูกต้นไผ่ ต้นกุ่ม และต้นมะพร้าว จะอยู่เย็นเป็นสุข
-    ทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงเหนือ) ปลูกต้นยอ
-    ทิศทักษิณ (ใต้) ปลูกต้นมะม่วง และต้นพลับจะร่ำรวยยิ่งขึ้น
-    ทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้) ปลูกต้นชัยพฤกษ์ รายพฤกษ์ สะเดา ป้องกันโทษร้ายต่าง ๆ
-    ทิศประจิม (ตะวันตก) ปลูกต้นมะขาม มะยม ป้องกันผีร้ายกล้ำกลาย
-    ทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) ปลูกต้นมะกรูด จะสวัสดี
-    ทิศอุดร (เหนือ) ปลูกต้นพุทรา และหัวว่านต่าง ๆ ป้องกันอาคมและเวทมนตร์

ที่มา: http://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/knowledge/1552-00/


การขยายพันธุ์

การขยายพันธุ์
 การขยายพันธุ์ไม้ประดับไม่ได้แตกต่างจากพืชชนิดอื่นๆ  แต่ต้องพิจารณาถึงชนิดและประเภทของพันธุ์ไม้ วิธีการขยายพันธุ์ไม้ประดับที่ได้ผลดีและนิยมกันมาก ได้แก่ การเพาะเมล็ด การแยกหน่อ การตัดชำ และการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ


การเพาะเมล็ด เป็นการขยายพันธุ์ที่ง่ายและประหยัดที่สุด แต่ก่อนที่จะเพาะเมล็ดนั้นจะต้องรู้ว่าเมล็ดที่จะเพาะมีการพักตัวหรือไม่ เปลือกเมล็ดหนาหรือบาง เมล็ดพืชแต่ละชนิดมีอายุการงอกแตกต่างกัน วัสดุที่ใช้เพาะเมล็ดต้องมีความร่วนซุยและอุ้มน้ำได้ดี โดยส่วนมากใช้วัสดุเพาะที่มีส่วนผสมของทราย+ขี้เถ้าแกลบ+ดินร่วน อัตราส่วน 1:1:1 ใส่ในกระบะเพาะ เมื่อเมล็ดงอกจนมีใบจริงแล้วจึงย้ายปลูกลงกระถางหรือถุงพลาสติกต่อไป พืชที่นิยมขยายพันธุ์ด้วยวิธีนี้ ได้แก่ พืชตระกูลหมาก ตระกูลปาล์ม เป็นต้น


การแยกหน่อ เป็นการขยายพันธุ์สำหรับพืชที่มีหน่อหรือมีลำต้นใต้ดิน โดยแยกหน่อที่เกิดรอบๆ ต้นแม่ และต้องระวังในการขุดหรือตัดแยกอย่าให้หน่อหักหรือช้ำ และต้องมีรากติดมาด้วยเสมอ พืชที่นิยมขยายพันธุ์ด้วยวิธีนี้ ได้แก่ พืชตระกูลหมาก ตระกูลปาล์ม และตระกูลกล้วย เป็นต้น


การตัดชำ เป็นการขยายพันธุ์โดยนำเอาส่วนของพืชที่มีความสามารถในการเกิดรากและเจริญเติบโตเป็นต้นใหม่ได้ การขยายพันธุ์โดยการตัดชำนี้มีอยู่ 3 วิธี คือ การตัดชำกิ่งหรือลำต้น โดยกิ่งที่จะชำนั้นต้องเป็นกิ่งที่ไม่แก่และไม่อ่อนจนเกินไป อีกวิธีหนึ่ง คือ การตัดชำใบ โดยใช้ส่วนต่างๆ ของใบ เช่น แผ่นใบ ส่วนของใบ ใบที่มีตาติด และก้านใบ นิยมใช้กับพืชที่มีใบใหญ่ หนา หรืออวบน้ำ และวิธีต้ดชำอีกวิธีหนึ่ง คือ การตัดชำราก สามารถทำได้กับพืชบางชนิดเท่านั้น เช่น สน โดยรากที่จะนำมาตัดชำต้องเป็นรากที่สมบูรณ์ไม่มีโรคและแมลงรบกวน


 การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ  เป็นวิธีการขยายพันธุ์เพื่อให้ได้ต้นที่ตรงตามพันธุ์ ปริมาณมากในระยะเวลาสั้น นอกจากนี้แล้วยังสามารถขยายพันธุ์ลูกผสมใหม่ๆ จากการผสมพันธุ์หรือจากการกระตุ้นให้เกิดการกลายพันธุ์ได้ปริมาณมากในระยะเวลาสั้นเช่นเดียวกัน การขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ คือ

ระยะที่ 0) การเตรียมต้นแม่พันธุ์
คัดเลือกต้นพันธุ์ดีที่ปลูกในวัสดุปลูกที่สะอาดผ่านการฆ่าเชื้อ มีการป้องกันโรคและแมลง ดูแลให้ปุ๋ยบำรุงพืชให้เจริญเติบโตแข็งแรงและสมบูรณ์ และลดการปนเปื้อนในการนำส่วนต่างๆ มาเป็นชิ้นส่วนตั้งต้น

ระยะที่ 1) การชักนำให้เกิดต้น
นำชิ้นส่วนตั้งต้นจากส่วนต่างๆ ของพืช เช่น ยอด ตาข้าง ใบอ่อน หรือดอกอ่อน มาฟอกฆ่าเชื้อ และเพาะเลี้ยงบนอาหารสังเคราะห์

ระยะที่ 2) การเพิ่มปริมาณต้น
นำต้นอ่อนที่ได้มาทำการเพิ่มปริมาณต้นทุกๆ 6-8 สัปดาห์ ขึ้นกับชนิดของพันธุ์พืชที่เพาะเลี้ยง


 ระยะที่ 3) การยืดยาวของลำต้นและการกระตุ้นหรือพัฒนาการออกราก
ตัดแยกพืชที่เพาะเลี้ยงให้เป็นต้นเดี่ยว เพาะเลี้ยงในอาหารเพื่อกระตุ้นให้เกิดราก ใช้เวลาประมาณ 3-4 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับชนิดของพืช


 ระยะที่ 4) การปรับสภาพและการย้ายปลูกต้นที่ได้จากการกระตุ้นการเกิดราก
นำต้นกล้าเล็กมาล้างรากให้สะอาด คัดขนาดของต้นให้มีความสม่ำเสมอแล้วย้ายปลูกในสภาพแวดล้อมภายนอกในกระบะที่มีวัสดุปลูกที่นึ่งฆ่าเชื้อแล้วที่มีส่วนผสมของ ดินร่วน:ทรายหยาบ:ใบไม้ผุ:ปุ๋ยคอก อัตราส่วน 1:1:1:1 ทำการปรับสภาพต้นโดยลดอุณหภูมิและเพิ่มความชื้นสัมพัทธ์ซึ่งอาจใช้ระบบพ่นหมอก พ่นฝอย หรือเต็นท์ทำความเย็น และลดความเข้มแสงลงให้เหลือประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ จนกระทั่งต้นสามารถเจริญเติบโตได้ดีจึงค่อยๆ ลดความชื้นสัมพัทธ์ลงพร้อมๆ กับเพิ่มความเข้มแสงซึ่งใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์

ที่มา: http://research.rae.mju.ac.th/raebase/index.php/base-learning/product1/garden-tree

ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของไม้ประดับ

ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของไม้ดอกไม้ประดับ

ไม้ดอกประดับจะเจริญเติบโต แข็งแรง สมบูรณ์ และสวยงามดีนั้น ผู้ปลูกเลี้ยงควรจะต้องทราบถึงปัจจัยสำคัญต่างๆ ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช ดังนี้

1.แสง
แสงเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อพืชเป็นอย่างมาก เพราะพืชต้องการแสงเพื่อนำไปใช้ในขบวนการสังเคราะห์แสง พันธุ์ไม้ประดับแต่ละชนิดต้องการความเข้มของแสงไม่เท่ากัน จึงสามารถแบ่งไม้ประดับ ออกได้ตามความต้องการของแสง คือ กลุ่มที่ต้องการแสงน้อย ต้องการแสงปานกลางหรือรำไร และต้องการแสงมาก ดังนั้น ควรศึกษาถึงปริมาณของแสงที่พันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับแต่ละชนิดต้องการเพื่อจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับพันธุ์ไม้แต่ละชนิด

2.น้ำและความชื้น
พืชมีความจำเป็นต้องใช้น้ำในขบวนการสังเคราะห์แสงทำให้เซลล์เต่งตึง และยังเป็นตัวละลายแร่ธาตุต่างๆ ก่อนที่จะลำเลียงเข้าสู่ต้นพืช พันธุ์ไม้แต่ละชนิดต้องการน้ำในปริมาณที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับขนาดและอายุของพืช สำหรับความชื้นในอากาศเป็นปัจจัยทางอ้อมที่มีผลต่อปริมาณความต้องการน้ำของพืช ถ้าความชื้นในอากาศต่ำพืชก็คายน้ำมากขึ้นทำให้พืชต้องการน้ำเพื่อชดเชยปริมาณน้ำที่สูญเสียไป

3.อุณหภูมิ
อุณหภูมิเป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่ง ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช พืชจะเจริญเติบโตได้ดีในอุณหภูมิที่เหมาะสมกับต้นไม้แต่ละชนิด อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญของพืชอยู่ในช่วง 15-40 องศาเซลเซียส ดังนั้นการนำพันธุ์ไม้มาปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับจะต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อมและอุณหภูมิที่พืชเหล่านั้นต้องการ

4.ธาตุอาหาร
ธาตุอาหารเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งส่วนใหญ่มาจากดิน แต่ในดินบางชนิดมีปริมาณธาตุอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืชจำเป็นต้องใส่ปุ๋ยเพิ่มลงไป โดยเฉพาะปุ๋ยที่มีธาตุอาหารหลัก คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแตสเซียม ซึ่งควรจะพิจารณาและเลือกใช้ให้เหมาะสมกับสภาพของพันธุ์ไม้และดิน

5.ดิน
ดินที่มีความเหมาะสมในการปลูกพืชต้องเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง มีธาตุอาหารที่พืชต้องการอยู่อย่างครบถ้วน แต่ดินที่มีความสมบูรณ์จากธรรมชาติหาได้ยาก จึงต้องเพิ่มธาตุอาหารหรืออินทรียวัตถุต่างๆ ลงไป เพื่อปรับสภาพโครงสร้างของดินให้เหมาะสมกับการปลูกพืชและการเจริญเติบโตของพืชแต่ละชนิด โดยดินที่ใช้ปลูกพืชที่ดีควรมีคุณสมบัติ คือ มีความหนาแน่นและความละเอียดของเนื้อดินพอเหมาะในการยึดต้นไม้ มีการระบายน้ำและถ่ายเทอากาศและเก็บความชื้นได้ดี มีธาตุอาหารเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของพืช ควรมีค่าความเป็นกรด-ด่าง ประมาณ 6.5-7.0 ปราศจากสารพิษและศัตรูพืชต่างๆ มีน้ำหนักเบา หาได้ง่ายและราคาถูก ส่วนผสมของดินปลูกไม้ประดับที่นิยมใช้กันโดยทั่วไป คือ ดินร่วน:ทรายหยาบ:ใบไม้ผุ:ปุ๋ยคอก อัตราส่วน 1:1:1:1

ที่มา: http://research.rae.mju.ac.th/raebase/index.php/base-learning/product1/garden-tree