วันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2557

การปลูกไม้ประดับ

ไม้ประดับ หมายถึง พืชที่ปลูกเพื่อใช้ประโยชน์จากรูปร่าง รูปทรง สีสันของลำต้นและใบที่มีความสวยงามแตกต่างกันไป นิยมปลูกประดับตกแต่งอาคารสถานที่ทั้งในพื้นดินและในกระถาง มีทั้งไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ไม้พุ่ม ไม้ล้มลุก และไม้เลื้อย




ประเภทของไม้ประดับ
แบ่งตามลักษณะของการใช้งานได้เป็น 2 ประเภท คือ

1.ประเภทไม้ประดับภายในอาคารหรือในร่มรำไร
เป็นกลุ่มพืชที่ต้องการแสงน้อย-ปานกลาง ส่วนมากจะปลูกอยู่ในอาคารสำนักงานที่มีแสงน้อย แดดส่องถึงบ้าง อุณหภูมิไม่สูงนัก พืชกลุ่มนี้ได้แก่ แก้วหน้าม้า พืชตระกูลฟิโลเดนดรอนและมอนสเตอรา เดหลี เป็นต้น


2.ประเภทไม้ประดับภายนอกอาคารหรือกลางแจ้ง
เป็นกลุ่มพืชที่ต้องการแสงมากตลอดทั้งวัน ส่วนมากปลูกประดับอยู่ภายนอกอาคารหรือตามสนามต่างๆ พืชกลุ่มนี้ได้แก่ โกสน พืชตระกูลปาล์ม เป็นต้น


แบ่งตามชนิดของพันธุ์ไม้ได้เป็น 4 ประเภท คือ
1.ไม้ยืนต้น ไม้ประเภทนี้มีลำต้นเป็นไม้เนื้อแข็งขนาดใหญ่ มีลำต้นหลัก ลำต้นตรง ต้นเดียวแล้วจึง แตกกิ่งก้านบริเวณยอด มีอายุหลายปี ได้แก่ ปาล์มต่างๆ จันทร์ผา เป็นต้น


2.ไม้พุ่ม ลำต้นเป็นไม้เนื้ออ่อนไม่มีเนื้อไม้หรือมีเนื้อไม้เล็กน้อยบริเวณโคนต้น ได้แก่ หนวดปลาหมึกแคระ โมก เล็บครุฑ เป็นต้น


3.ไม้ล้มลุก มีลำต้นเป็นไม้เนื้ออ่อนไม่มีเนื้อไม้ หรือมีเนื้อไม้เล็กน้อยบริเวณโคนต้น ได้แก่ กล้วยประดับ  สับปะรดสี เป็นต้น


4.ไม้เลื้อย เป็นพืชที่ลำต้นมีเนื้อไม้หรือไม่มีเนื้อไม้ อายุปีเดียวหรือหลายปี ลำต้นเลื้อยไปตามดินหรือพัน สิ่งที่อยู่ใกล้เคียง โดยอาจมีอวัยวะพิเศษช่วยในการเกี่ยวยึด ได้แก่ ม่านบาหลี  โมกเครือ กระเทียม เถา เป็นต้น

การปฏิบัติดูแลรักษาไม้ประดับ 

การปลูกเลี้ยงไม้ประดับต้องมีการปฏิบัติดูแลอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ไม้ประดับมีความแข็งแรงสวยงามได้นาน จึงควรปฏิบัติต่อไม้ประดับ

 1) การให้น้ำ
การให้น้ำแก่ไม้ประดับมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโต เพราะการให้น้ำมาก/น้อยเกินไป หรือให้น้ำไม่ถูกวิธีทำให้เกิดปัญหากับพืชได้ ดังนั้นการให้น้ำเวลาใดต้องคำนึงถึงความสะดวกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายประการ เช่น ดินปลูก ความชื้นในดิน ฤดูกาล ชนิดพืช ความเข้มแสง อุณหภูมิ ฯลฯ การให้น้ำที่พอดีจะทำให้พืชมีอายุยืนยาว เจริญเติบโตเร็วและสวยงาม

2) การให้ปุ๋ย
การให้ปุ๋ยควรพิจารณาความอุดมสมบูรณ์ของวัสดุปลูกเป็นหลัก วัสดุปลูกที่มีความอุดมสมบูรณ์น้อยมีความจำเป็นที่จะต้องใส่ปุ๋ยเพิ่มให้เพียงพอต่อความต้องการของพืช ควรเน้นการให้พวกอินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรืออาจให้ปุ๋ยเคมีบ้างเพื่อปรับสภาพในแต่ละช่วงแต่ละฤดูกาล เช่น ฤดูร้อนจะให้ปุ๋ยในโตรเจนสูง ฟอสฟอรัสต่ำ และโปรแตสเซียมสูงเล็กน้อย ฤดูฝนจะให้ปุ๋ยไนโตรเจนต่ำ ฟอสฟอรัสและโปแตสเซียมสูง ส่วนฤดูหนาวก็จะให้ปุ๋ยไนโตรเจนสูงมากๆ เพื่อกระตุ้นให้พืชตอบสนองต่อการเจริญเติบโต

3) การตัดแต่ง
ไม้ประดับหลังจากปลูกไปนานๆ จำเป็นต้องมีการตัดแต่งกิ่งออกไปบ้างโดยใช้กรรไกรตัดแต่ง หรือมีดคมๆ เพื่อรักษาทรงพุ่มให้สวยงามยิ่งขึ้น บางครั้งอาจมีกิ่งหักเสียหาย กิ่งมีโรคและแมลงเข้าทำลายหรือกิ่งแห้งเหี่ยวก็ควรตัดออก นอกจากต้นไม้จะดูสวยงามขึ้นแล้วยังเป็นการรักษาสุขภาพของต้นไม้ให้ดีขึ้นด้วย

4) การเปลี่ยนถ่ายกระถาง
ไม้ประดับที่ปลูกลงกระถางเมื่อปลูกเลี้ยงจนโตเต็มที่ควรมีการเปลี่ยนกระถางที่มีขนาดใหญ่ขึ้น หรือเปลี่ยนดินใหม่ที่มีธาตุอาหารสมบูรณ์กว่าเดิมเพื่อไม่ให้พืชชะงักการเจริญเติบโต โดยการเปลี่ยนกระถางไม้ประดับมีขั้นตอน ดังนี้ 1) เลือกกระถางใหม่ตามขนาดที่ต้องการมาล้างทำความสะอาด 2) เตรียมวัสดุปลูกเพื่อใส่ในกระถาง 3) นำต้นพืชออกจากกระถางเก่าและแซะดินเก่าออกประมาณครึ่งหนึ่ง 4) นำต้นพืชลงปลูกในกระถางใหม่ที่ใส่วัสดุปลูกรองพื้นไว้ และเติมวัสดุปลูกลงไปให้เกือบถึงขอบกระถาง กดวัสดุปลูกให้แน่นแล้วรดน้ำให้ชุ่ม

ที่มา: http://research.rae.mju.ac.th/raebase/index.php/base-learning/product1/garden-tree

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น