ความหมายของไม้ดอกไม้ประดับ
ไม้ดอก หมายถึง พันธุ์ไม้ทุกชนิดที่ปลูกเพื่อใช้ประโยชน์จากความสวยงามของดอก มีดอกสวยงาม ดอกดก บานทน นิยมปลูกไว้ทั้งที่บานสวยงานอยู่กับต้นหรือตัดออกไปใช้ประโยชน์หรือจำหน่ายซึ่งสามารถแบ่งกลุ่มได้ 2 กลุ่ม คือ ไม้ดอกประดับ ไม้ตัดดอก
ไม้ดอกประดับ คือ พันธุ์ไม้ดอกทุกชนิดที่ปลูกไว้เพื่อประดับบ้านเรือนอาคารสถานที่โดยได้ดอกบานติดอยู่กับต้น เพื่อเพิ่มบรรยากาศให้สถานที่นั่นน่าอยู่อาศัยหรือน่าทำงาน ได้แก่ เข็มญี่ปุ่น พิทูเรีย แพงพวย พุทธรักษา บานชื่น ปทุมมา บัวสาย ฯลฯ ซึ่งหลายชนิดสามารถนำไปปลูกเป็นไม้ตัดดอกได้
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า ไม้ดอกไม้ประดับหมายถึงพันธุ์ไม้ที่ปลูกขึ้นเพื่อทำให้เกิดความสวยงามทั้งภายในบริเวณบ้าน เช่น ในบริเวณสนามรอบ ๆ ตัวบ้าน แขวนไว้ตามชายบ้าน และตั้งประดับไว้ตามส่วนต่าง ๆ ภายนอกตัวบ้านหรืออาคาร
การจำแนกประเภทและแบ่งพันธุ์ไม้นั้น มีหลักพิจารณาและจำแนกต่าง ๆ กัน แล้วแต่ความมุ่งหมายและความประสงค์ ซึ่งอาจแบ่งจำพวกพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับเป็น 3 พวกใหญ่ ๆ คือ
1. การแบ่งพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับตามความมุ่งหมายที่ใช้ หมายถึง การแบ่งพันธุ์ไม้ตามความต้องกรและมุ่งหมายที่จะนำมาใช้เพื่อประโยชน์และ ใช้ส่วนไหนเพื่อประโยชน์ที่ต้องการ
2. การแบ่งพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับตามลักษณะนิสัยของพันธุ์ไม้เช่นการแบ่งตามถิ่นกำเนิดแบ่งตามอายุความเจริญเติบโตของพันธุ์ไม้ตามลักษณะเนื้อไม้ ตามสิ่งแวดล้อม และตามลักษณะของลำต้น
3. การแบ่งพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับตามหลักพฤกษศาสตร์ มีความมุ่งหมายเพื่อจำแนกพันธุ์ไม้ทั่ว ๆ ไปให้แน่ชัดในรูปร่าง ลักษณะนิสัยการดำรงชีพ และการสืบพันธุ์ ของพันธุ์ไม้ให้อยู่เป็นกลุ่มที่แน่นอน ไม่ปะปนสับสนกัน
ประเภทของไม้ดอกไม้ประดับ
1. การใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
1.1 ใช้เพื่อก่อให้เกิดความสวยงาม เช่น ร้อยพวงมาลัย ตกแต่งอาคารสถานที่
1.2 ใช้ไม้ดอกไม้ประดับเพื่อความสดชื่น สบายใจ หรือฟื้นฟู สภาพจิตใจ เช่น การจัดกระเช้าดอกไม้หรือจัดแจกันให้ผู้ป่วยเกิดความสดชื่น
1.3 ช่วยลดการเกิดวัชพืช ไม้ดอกไม้ประดับบางชนิดสามารถปลูกคลุมดินได้เป็นอย่างดี ช่วยรักษาระดับอุณภูมิและความชื้นภายในดิน
1.4 ใช้ไม้ดอกไม้ประดับเพื่อเป็นยารักษาโรค
1.5 ใช้ไม้ดอกไม้ประดับในการประกอบอาหาร เช่น การใช้สีจากใบเตย ฯลฯ
1.6 ใช้ประดับในงานพิธีต่าง ๆ เช่น วันเกิด งานแต่งงาน ฯลฯ
1.7 ใช้แสดงความยินดีและใช้โอกาสต่าง ๆ เช่น รับปริญญา ฯลฯ
2. การใช้ประโยชน์ที่ก่อให้เกิดรายได้หรือการประกอบธุรกิจ
2.1 การปลูกไม้ดอกไม้ประดับเพื่อเป็นรายได้เสริม เช่น การปลูกเป็นพืชแซม หรือ ในสวนบริเวณบ้าน
2.2 การปลูกไม้ดอกไม้ประดับเพ่อการค้า หรือจำหน่ายทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
ความสำคัญของไม้ดอกไม้ประดับ
มนุษย์จะใช้ไม้ดอกไม้ประดับเพื่อกิจการต่าง ๆ ดอกไม้ที่มีการซื้อขายกันมากที่สุดในตลาดโลก 3 ลำดับแรกคือ คาร์เนชั่น กุหลาบ และ เบญจมาศ ดอกไม้ที่ประเทศไทยส่งออก ส่วนใหญ่คือ กล้วยไม้ และ กุหลาบ มีประเทศลูกค้าที่สำคัญ คือ สิงคโปร์ อังกฤษ ฮ่องกง เยอรมนี ญี่ปุ่น และ เนเธอร์แลนด์
คุณภาพของไม้ดอกไม้ประดับ
คุณภาพของไม้ดอกไม้ประดับ ไม้ดอกและไม้ประดับเป็นอวัยวะของพืชที่ค่อนข้างซับซ้อนซึ่งเมื่อมีการสูญเสียคุณภาพของก้าน ใบ หรือดอก จะไม่สามารถจำหน่ายได้ เพราะตลาดไม่ยอมรับการสูญเสียคุณภาพมีสาเหตุมาจากหลายประการ เช่น การเหี่ยว การร่วงของใบหรือกลีบดอก การโค้งงอ เป็นต้น ในการคัดคุณภาพหรือจัดมาตรฐานไม้ดอกไม้ประดับนั้น ต้องเข้าใจสาเหตุที่ทำให้คุณภาพของไม้ดอกไม้ประดับเสียไปได้แก่
1. การเจริญเติบโตและการแก่ ทำให้คุณภาพเสื่อมลง และอาจทำให้เกิดการโค้งของก้านดอกได้
2. การเสื่อมสภาพเป็นช่วงเวลาที่ดอกไม้กำลังจะหมดอายุซึ่งคุณภาพจะต่ำลง
3. การเหี่ยว อายุการปักแจกันของดอกไม้และใบไม้ขึ้นอยู่กับการได้รับน้ำอย่างต่อเนื่องและพอเพียง
4. การเหลืองของใบและอวัยวะอื่น ๆ ทำให้ดอกหมดอายุการใช้งาน
5. การร่วงของกลีบดอกและใบหรืออวัยวะอื่น ๆ จากสาเหตุต่าง ๆ
อนาคตตลาดไม้ดอกไม้ประดับไทย
สถานภาพไม้ดอกไม้ประดับของประเทศไทย
1. ลักษณะการส่งออกไม้ดอกไม้ประดับของประเทศไทยนับได้ว่าเป็นประเทศที่ส่งสินค้าไม้ดอกไม้ประดับออกจำหน่ายต่างประเทศเป็นอันดับ 3 ของโลก
2. ด้านการผลิตและการใช้ดอกไม้ประดับภายในประเทศชนิดไม่เพียงพอกับความต้องการ
3. การปลูกไม้ดอกไม้ประดับ เพื่อการจำหน่ายได้มีการขยายตัวมากขึ้น
- ภาคเหนือ ปลูกมากที่เชียงราย นครสวรรค์ พิจิตร และเชียงใหม่
- ภาคกลาง ปลูกมากที่กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี นนทบุรี นครปฐม
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปลูกมากที่หนองคาย ขอนแก่น และอุบลราชธานี
- ภาคใต้ ปลูกมากที่สุราษฏร์ธานี ภูเก็ต นครศรีธรรมราช และสงขลา
ดอกไม้ที่ปลูกมากทั้ง 4 ภาค ดังกล่าว ได้แก่ กล้วยไม้ กุหลาบ เยอบีร่า มะลิ และ บานไม่รู้โรย
ไม้ไทยอยู่ในฐานะไม่แตกต่างจากสินค้าเกษตรอย่างอื่น เมื่อก่อนอาจจะถูกมองข้ามไปเสียด้วยซ้ำว่า ปลูกแล้วกินไม่ได้ ปลูกไม้อย่างอื่นดีกว่า แต่ไม้ไทยได้พิสูจน์ตัวเองแล้วว่า ผู้ปลูกสามารถยืนหยัดอยู่ได้ ถึงจะกินไม่ได้ก็จริง แต่เมื่อมีผลผลิต ขายได้เงินมีอยู่มีกินมากกว่า ผู้ที่ผลิตพืชบางชนิดที่กินได้ โดยตรงเสียอีก
ตัวอย่างไม้ดอกไม้ประดับ
บัว พันธุ์ไม้น้ำที่ถือกันว่าเป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ผุดผ่องและคุณงามความดี ในพุทธศาสนาพระพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบระดับสติปัญญาของมนุษย์กับการเจริญเติบโตของบัวเป็น 4 เหล่าคือ บัวในโคลนตม บัวใต้น้ำ และบัวเหนือน้ำ บัวเป็นพันธุ์ไม้น้ำที่ดูสง่างาม ดอกมีขนาดใหญ่ มีสีสันสวยงาม เด่นสะดุดตาสะดุดใจ แก่ผู้พบเห็น บางชนิดมีกลิ่นหอมน่าชื่นชม
กุหลาบ เป็นไม้ดอกที่มีความสวยงามที่จะหาดอกไม้ชนิดอื่นมาเปรียบเทียบได้ จนกระทั่งมีผู้ให้ฉายาว่า “ราชินีแห่งดอกไม้” ดังนั้นกุหลาบจึงเป็นดอกไม้ที่นิยมปลูกและใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้กุหลาบยังมีคุณสมบัติที่ดีเด่นอีกหลายประการ สามารถใช้ประโยชน์ได้กว้างขวาง เช่น ใช้ เป็นไม้กระถาง ไม้ตัดดอก ตกแต่งสถานที่ ตลอดจนใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับทำเป็นน้ำมันหอมระเหยและดอกไม้แห้ง
ชวนชม เป็นพรรณไม้ที่มีสีสันของดอกสวยงามสะดุดตามีรูปทรงของต้นและกิ่งก้านที่สวยงามและอ่อนช้อยนุ่มนวล เป็นไม้ที่ปลูกเลี้ยงง่าย ทนต่อสภาพแห้งแล้งจนได้รับสมญาว่า Derest Rose หรือ “กุหลาบทะเลทราย” นอกจากนี้ชวนชมยังเป็นชื่อที่มีความไพเราะเป็นศิริมงคลตามความเชื่อของคนไทย แม้แต่ชาวจีนซึ่งเรียกชวนชมว่า “ปู้กุ้ยฮวย” หรือ ดอกไม้แห่งความร่ำรวยก็ยังมีความหมายไปในทางศิริมงคลเช่นกัน
มะลิ เป็นพรรณไม้พุ่มยืนต้นขนาดกลาง แตกกิ่งก้านสาขาออกรอบ ๆ ลำต้นสูงประมาณ 5 ฟุต ใบเป็นใบเดี่ยวแตกออกเป็นคู่ ไปตามก้านต้นลักษณะใบป้อมมนปลายใบแหลมโคนใบสอบ ขอบใบเรียบไม่มีจัก ผิวใบเรียบสีเขียวเข้มเป็นใบยาว 2-3 นิ้ว มีดอกเป็นดอกเดี่ยวออกเป็นช่อตามปลายยอดหรือปลายกิ่งประมาณ 3-5 ดอก แล้วแต่ชนิดพันธุ์ ดอกมีสีขาวกลิ่นหอม มีทั้งดอกลาและดอกซ้อน ออกดอกตลอดไป มะลิเป็นไม้ที่ชอบแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง ต้องการน้ำปานกลาง ปลูกในดินร่วนซุย ขยายพันธุ์โดยการปักชำ หรือตอน
ย่อมเป็นที่ทราบกันทั่วไปแล้วว่า ปัจจุบันไม้ดอกไม้ประดับมีความจำเป็นต่อการมีชีวิตในสังคมมาก มนุษย์มีความเจริญมากขึ้นทั้งทางวัตถุและวัฒนธรรม มิใช่แต่ปัจจัย 4 เท่านั้นที่จำเป็นโดยตรง แต่การรักสวยรักงามยังเป็นสิ่งเชิดชูทำให้ปัจจัย 4 มีความสำคัญมากยิ่งขึ้นด้วย จะเห็นว่าไม้ดอกไม้ประดับ เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับปัจจัย 4 อยู่มาก เช่น ต้องประกอบด้วยไม้ดอกไม้ประดับจึงจะทำให้ที่อยู่อาศัยนั้นมีค่าสูงขึ้นอาหารก็เช่นกัน ถ้าหากตบแต่งโดยปราศจากไม้ดอกไม้ประดับแล้วก็จะทำให้สถานที่บริโภคนั้นลดคุณค่าลงไป เครื่องนุ่งห่มก็เช่นกัน ยังต้องการช่อไม้ประดับด้วยจึงจะดูงามมากขึ้น หรือแม้แต่ยารักษาโรคบางชนิดก็ต้องอาศัยต้นไม้เป็นส่วนประกอบด้วย
ในการผลิตไม้ดอกไม้ประดับเพื่อการค้านั้น นับวันจะมีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศมากขึ้น ในเมืองไทยเรานั้นตลาดการค้าไม้ดอกไม้ประดับนับวันจะขยายกว้างออก และมีปริมาณมากขึ้นให้ทันกับความต้องการของคนไทย จึงเป็นที่เชื่อได้ว่าอนาคตของการปลูกไม้ดอกไม้ประดับในเมืองไทยนั้น จะก้าวไปสู่วิถีการผลิตเช่น ผลิตผลในทางเกษตรกรรมสาขาอื่น ๆ ได้เหมือนกัน
ที่มา: http://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/knowledge/1552-00/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น